กระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร : กรณี ศึกษา โรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ บ้านหลั่น หมู่ที่ 4 ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
วรรณี ทองระย้า
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2549
เหตุผลที่เลือกงานวิจัยเรื่องนี้
งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งคิดว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก
วัตถุประสงค์การวิจัย
ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกของเกษตรกร
แนวคิด ทฤษฎีการวิจัย
· แนวคิดการจัดการความรู้และกระบวนการจัดการความรู้
· แนวคิดเกษตรยั่งยืน
· แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
· แนวคิดการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบการทำงานของโรงเรียนเกษตรกร
กรอบแนวความคิด

เครื่องมือและค่าสถิติ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการพรรณนาความ ใช้การสัมภาษณ์ (Guide-line Interview) แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และตั้งประเด็นในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นตามกรอบแนวความคิดการศึกษา โดยใช้ค่าสถิติอย่างง่าย คือการคิดค่าร้อยละ
ผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีการเรียนรู้ที่เริ่มจากปัญหาการใช้ปัจจัยการผลิตที่มากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยจำแนกกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่มแบ่งตามลักษณะพฤติกรรม คือ กลุ่มก้าวหน้ามีจำนวน 4 เรือน กลุ่มเรียนรู้มีจำนวน 9 ครัวเรือน และกลุ่มเริ่มต้นจำนวน 20 ครัวเรือน
นอกจากนี้พบว่า กลุ่มก้าวหน้ามีพฤติกรรมในการ ปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคมด้วยการทำการเกษตรแบบ 2 วิถี คือ ผลิตเพื่อการค้าและผลิตตามแนวทางของเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มยอมรับในแนวคิด ดังนั้น หากได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสังคม เกษตรกรกลุ่มเรียนรู้และกลุ่มเริ่มต้นจะมีโอกาสขยายผลสู่กลุ่มก้าวหน้า
ถาม-ตอบ
หากท่านต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรท่านจะใช้วิธีการใด ?
วรรณี ทองระย้า
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2549
เหตุผลที่เลือกงานวิจัยเรื่องนี้
งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งคิดว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก
วัตถุประสงค์การวิจัย
ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกของเกษตรกร
แนวคิด ทฤษฎีการวิจัย
· แนวคิดการจัดการความรู้และกระบวนการจัดการความรู้
· แนวคิดเกษตรยั่งยืน
· แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
· แนวคิดการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบการทำงานของโรงเรียนเกษตรกร
กรอบแนวความคิด

เครื่องมือและค่าสถิติ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งเน้นการพรรณนาความ ใช้การสัมภาษณ์ (Guide-line Interview) แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และตั้งประเด็นในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นตามกรอบแนวความคิดการศึกษา โดยใช้ค่าสถิติอย่างง่าย คือการคิดค่าร้อยละ
ผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรมีการเรียนรู้ที่เริ่มจากปัญหาการใช้ปัจจัยการผลิตที่มากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยจำแนกกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่มแบ่งตามลักษณะพฤติกรรม คือ กลุ่มก้าวหน้ามีจำนวน 4 เรือน กลุ่มเรียนรู้มีจำนวน 9 ครัวเรือน และกลุ่มเริ่มต้นจำนวน 20 ครัวเรือน
นอกจากนี้พบว่า กลุ่มก้าวหน้ามีพฤติกรรมในการ ปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคมด้วยการทำการเกษตรแบบ 2 วิถี คือ ผลิตเพื่อการค้าและผลิตตามแนวทางของเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรกรทั้ง 3 กลุ่มยอมรับในแนวคิด ดังนั้น หากได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสังคม เกษตรกรกลุ่มเรียนรู้และกลุ่มเริ่มต้นจะมีโอกาสขยายผลสู่กลุ่มก้าวหน้า
ถาม-ตอบ
หากท่านต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรท่านจะใช้วิธีการใด ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น